ระบบนิเวศ
ร่างกายของมนุษย์นับว่าเป็น “ ระบบ” อย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยระบบย่อยๆ หลายระบบ เช่น ระบบหายใจ ระบบการย่อยอาหาร ระบบการขับถ่าย แต่ละระบบต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป และขณะเดียวกันแต่ละระบบก็จะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อย
ธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน มีโลกเป็นระบบใหญ่ที่มีดิน น้ำ อากาศ พืช สัตว์ และมนุษย์เป็นระบบย่อยที่มาประกอบกันเป็นระบบใหญ่ เรียกว่า “ โลก ” ระบบย่อยต่างๆ เหล่านี้ก็ต้องอาศัยเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เช่น พืชก็ต้องอาศัยน้ำ อากาศ และดิน ในการเจริญเติบโต สัตว์ก็ต้องอาศัยน้ำ อากาศ และพืช เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดินก็ต้องอาศัยธาตุจากซากของสิ่งมีชีวิต อากาศ น้ำ จึงจะมีความอุดมสมบูรณ์พอที่จะเจริญเติบโตได้ และมนุษย์เองก็ต้องอาศัย พืช สัตว์ น้ำ อากาศ ในการดำรงชีวิตเช่นกัน
ดังนั้นสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกจึงต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่า ระบบนิเวศ ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน และระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่ ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสสาร ละพลังงานเป็นวัฏจักร อาจสรุปความหมายของระบบนิเวศได้ดังนี้
ร่างกายของมนุษย์นับว่าเป็น “ ระบบ” อย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยระบบย่อยๆ หลายระบบ เช่น ระบบหายใจ ระบบการย่อยอาหาร ระบบการขับถ่าย แต่ละระบบต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป และขณะเดียวกันแต่ละระบบก็จะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อย
ธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน มีโลกเป็นระบบใหญ่ที่มีดิน น้ำ อากาศ พืช สัตว์ และมนุษย์เป็นระบบย่อยที่มาประกอบกันเป็นระบบใหญ่ เรียกว่า “ โลก ” ระบบย่อยต่างๆ เหล่านี้ก็ต้องอาศัยเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เช่น พืชก็ต้องอาศัยน้ำ อากาศ และดิน ในการเจริญเติบโต สัตว์ก็ต้องอาศัยน้ำ อากาศ และพืช เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดินก็ต้องอาศัยธาตุจากซากของสิ่งมีชีวิต อากาศ น้ำ จึงจะมีความอุดมสมบูรณ์พอที่จะเจริญเติบโตได้ และมนุษย์เองก็ต้องอาศัย พืช สัตว์ น้ำ อากาศ ในการดำรงชีวิตเช่นกัน
ดังนั้นสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกจึงต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่า ระบบนิเวศ ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน และระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่ ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสสาร ละพลังงานเป็นวัฏจักร อาจสรุปความหมายของระบบนิเวศได้ดังนี้
ระบบนิเวศ = กลุ่มสิ่งมีชีวิต + แหล่งที่อยุ่อาศัย
ประเภทของระบบนิเวศ
โลกมีอาณาเขตกว้างขวางมาก นับเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า ชีวาลัย ( Biosphere หรือ Ecosphere ) ประกอบด้วยระบบนิเวศย่อย ๆ เป็นจำนวนมาก เราอาจแบ่งระบบนิเวศได้หลายๆ กลุ่ม เช่น แบ่งเป็น 3 ประเภท โดยใช้เกณฑ์ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศ และลักษณะทางธรณีวิทยา คือแบ่งเป็น ระบบนิเวศทางธรรมชาติ ระบบนิเวศเมือง-อุตสาหกรรม และระบบนิเวศเกษตร แต่ในหน่วยนี้จะแบ่งระบบนิเวศเป็นประเภทใหญ่ ๆ เพียง 2 ประเภท คือ ระบบนิเวศบก และระบบนิเวศน้ำ
ระบบนิเวศบก และในน้ำแบ่งเป็นระบบนิเวศย่อย ๆ อีกดังนี้
1. ระบบนิเวศบก หมายถึง ระบบนิเวศของพื้นผิวโลกที่ไม่มีน้ำปกคลุม และแบ่งเป็นระบบนิเวศย่อยๆ ตามลักษณะภูมิประเทศ แต่ละชนิดของพืชที่พบในบริเวณนั้นๆ คือ
1.1 ระบบนิเวศป่าไม้
1.2 ระบบนิเวศทะเลทราย
1.3 ระบบนิเวศทุ่งน้ำแข็ง
2. ระบบนิเวศน้ำ เป็นระบบนิเวศที่มีบริเวณกว้างขวางมากเพราะโลกของเรามีพื้นที่น้ำเป็นทะเลและมหาสมุทรถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นโลก ระบบนิเวศน้ำยังแบ่งออกเป็น 3 ระบบตามระดับความเค็ม คือ
2.1 ระบบนิเวศน้ำจืด
2.2 ระบบนิเวศน้ำกร่อย
2.3 ระบบนิเวศน้ำทะเล
โลกมีอาณาเขตกว้างขวางมาก นับเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า ชีวาลัย ( Biosphere หรือ Ecosphere ) ประกอบด้วยระบบนิเวศย่อย ๆ เป็นจำนวนมาก เราอาจแบ่งระบบนิเวศได้หลายๆ กลุ่ม เช่น แบ่งเป็น 3 ประเภท โดยใช้เกณฑ์ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศ และลักษณะทางธรณีวิทยา คือแบ่งเป็น ระบบนิเวศทางธรรมชาติ ระบบนิเวศเมือง-อุตสาหกรรม และระบบนิเวศเกษตร แต่ในหน่วยนี้จะแบ่งระบบนิเวศเป็นประเภทใหญ่ ๆ เพียง 2 ประเภท คือ ระบบนิเวศบก และระบบนิเวศน้ำ
ระบบนิเวศบก และในน้ำแบ่งเป็นระบบนิเวศย่อย ๆ อีกดังนี้
1. ระบบนิเวศบก หมายถึง ระบบนิเวศของพื้นผิวโลกที่ไม่มีน้ำปกคลุม และแบ่งเป็นระบบนิเวศย่อยๆ ตามลักษณะภูมิประเทศ แต่ละชนิดของพืชที่พบในบริเวณนั้นๆ คือ
1.1 ระบบนิเวศป่าไม้
1.2 ระบบนิเวศทะเลทราย
1.3 ระบบนิเวศทุ่งน้ำแข็ง
2. ระบบนิเวศน้ำ เป็นระบบนิเวศที่มีบริเวณกว้างขวางมากเพราะโลกของเรามีพื้นที่น้ำเป็นทะเลและมหาสมุทรถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นโลก ระบบนิเวศน้ำยังแบ่งออกเป็น 3 ระบบตามระดับความเค็ม คือ
2.1 ระบบนิเวศน้ำจืด
2.2 ระบบนิเวศน้ำกร่อย
2.3 ระบบนิเวศน้ำทะเล
(รุปภาพ ระบบนิเวศน้ำ)
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศทุกระบบ จะมีโครงสร้างที่กำหนดโดยชนิดและจำนวนของสิ่งมีชีวิตเฉพาะอย่างที่อยู่ในระบบนั้น องค์ประกอบของระบบนิเวศมี 2 ส่วน ดังนี้
1. สิ่งไม่มีชีวิต ( Abiotic Components ) สิ่งไม่มีชีวิตเป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศได้แก่
1.1 พลังงานระบบนิเวศทุกระบบจะได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และพลังงานนี้จะช่วยให้เกิดบรรยากาศ ทำให้สารต่างๆ เกิดปฏิกิริยา และทำให้พืชมีชีวิต และพลังงานที่มีอยู่ในพืชนั้นก็จะถูกสร้าง และมนุษย์จะนำไปใช้ต่อไป
1.2 องค์ประกอบทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสงสว่าง ลม ความชื้น ฝุ่น องค์ประกอบทางกายภาพนี้จะเกิดขึ้นเมื่อแสงแดดทำปฏิกิริยากับสารต่าง ๆ ที่มีอยู่บนผิวโลก
1.3 องค์ประกอบทางเคมี เป็นสิ่งที่จำเป็นกับระบบนิเวศมาก และจะถูกสิ่งมีชีวิตนำไปใช้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ได้แก่ สารที่เป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน และสารประกอบอินทรีย์ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินฃ
2. สิ่งมีชีวิต ( Biotic Components ) ในระบบนิเวศประกอบด้วย
2.1 ผู้ผลิต ( Producer ) ได้แก่ พืชทุกชนิด และแบคทีเรียชนิดที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ โดยใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนสารอินทรียวัตถุ เช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และสารอนินทรีย์พวกแร่ธาตุต่างๆ ให้เป็นสารพวกอินทรียวัตถุที่พืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สามารถนำไปใช้สร้างเนื้อเยื่อหรือองค์ประกอบของร่างกาย
2.2 ผู้บริโภค ( Consumer ) ผู้บริโภคที่สำคัญ ได้แก่ มนุษย์ และสัตว์ทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือสารประกอบที่เป็นอินทรียวัตถุได้เองโดยตรง ต้องอาศัยอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุจากพืชและสัตว์อีกต่อหนึ่ง ผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
• พวกกินพืช ( Herbivores ) ผู้บริโภคที่กินพืชเป็นอาหาร ได้แก่ วาฬ กวาง โค กระบือ ตั๊กแตน เป็นต้น
• พวกกินสัตว์ ( Carnivores ) ผู้บริโภคที่กินสัตว์เป็นอาหาร ได้แก่ กบ งู นก เสือ เป็นต้น
• พวกกินทั้งพืช และสัตว์ ( Omnivores ) หรือ Top Carnivores ) ผู้บริโภคที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ได้แก่ หมู ไก่ แมว สุนัข และมนุษย์ เป็นต้น
2.3 ผู้ย่อยสลาย ( Decomposer ) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา และโปรโตซัว บางชนิด ซึ่งจะทำหน้าที่ย่อนสลายส่วนต่างๆ ของพืชและสัตว์ที่ตายแล้วให้อยู่ในรุปของสารประกอบที่ผู้ผลิตหรือพืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ผู้ย่อยสลายนับได้ว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศมาก เพราะทำให้ธาตุอาหารถูกนำกลับไปใช้ได้ใหม่ หรือมีหมุนเวียนอยู่ภายในระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องเป็นวัฏจักร
(รุปภาพความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย)
จะเห็นได้ว่าพลังงาน (รวมทั้งธาตุอาหาร ) จะถูกส่งผ่านองค์ประกอบต่างๆ ในระบบนิเวศไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในรูปอาหาร บางส่วนของพลังงานจะสูญหายไปในสิ่งแวดล้อมในลักษณะของความร้อน บางส่วนจะถูกส่งต่อไปให้องค์ประกอบอื่นๆ ของระบบนิเวศ และบางส่วนจะถูกเก็บสะสมไว้ในสิ่งมีชีวิตหรือในซากของสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตามอาจมีสิ่งชีวิตบางชนิดใช้พลังงานได้โดยตรงโดยไม่ต้องเป็นไปตามลำดับที่กล่าวไว้ เช่น นกนางนวล ใช้เพลังงานจากอากาศ นกพวกแบล็คเบิร์ดในสหรัฐอเมริกาใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น หรือสัตว์ในบริเวณชายฝั่งที่อาศัยอาหารที่พัดพามากับน้ำ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น