ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคคมนาคมขนส่ง
ปัญหาและผลกระทบจากการคมนาคมส่งมาจากแก๊สเสีย ไอเสีย และสิ่งละอองที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ แก๊สเสียบางส่วน และฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยทั่วไปเขม่าฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่า 10 ไมครอน หรือ PM 10) เมื่อสูดลมหายใจเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อปอดของมนุษย์ซึ่งมีผลต่อชีวิตและสุขภาพ ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มจะเป็นอันตรายมากสำหรับชุมชนเมืองใหญ่ที่มีการจราจรติดขัดมากๆ
การเกิดรูรั่วของชั้นโอโซน (Ozone Depletion) รูรั่วในชั้นโอโซนเกิดขึ้นเนื่องจากสารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFCs) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการทำความเย็น เช่น ใช้ในการทำตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และในการอัดความดันในกระป๋องสเปรย์ต่างๆ และสารฮาลอน (Halon) สารจำพวกนี้เมื่อปล่อยออกไปในบรรยากาศจะลอยขึ้นไปยังชั้นโทรโปสเฟียร์ และชั้นสตาร์โทสเฟียร์ ซึ่งในบรรยากาศชั้นนี้จะมีแก๊สโอโซน (O3) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตบี (UVB)ที่แผ่กระจายมายังโลกไม่ให้มีปริมาณมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ โดยปกติถ้าผิวหนังมนุษย์ได้รับรังสี UVB มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ เมื่อสารจำพวก CFCs ปะปนอยู่ในชั้นสตาร์โทสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลตจะกระตุ้นให้อะตอมคลอรีนแตกตัวออกมาจากสาร CFCs ซึ่งอะตอมคลอรีนนี้จะจับตัวกับออกซิเจนอะตอมในโอโซนทำให้โอโซนถูกทำลายลง
ปัญหาและผลกระทบจากการคมนาคมส่งมาจากแก๊สเสีย ไอเสีย และสิ่งละอองที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ แก๊สเสียบางส่วน และฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยทั่วไปเขม่าฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่า 10 ไมครอน หรือ PM 10) เมื่อสูดลมหายใจเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อปอดของมนุษย์ซึ่งมีผลต่อชีวิตและสุขภาพ ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มจะเป็นอันตรายมากสำหรับชุมชนเมืองใหญ่ที่มีการจราจรติดขัดมากๆ
การเกิดรูรั่วของชั้นโอโซน (Ozone Depletion) รูรั่วในชั้นโอโซนเกิดขึ้นเนื่องจากสารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFCs) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการทำความเย็น เช่น ใช้ในการทำตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และในการอัดความดันในกระป๋องสเปรย์ต่างๆ และสารฮาลอน (Halon) สารจำพวกนี้เมื่อปล่อยออกไปในบรรยากาศจะลอยขึ้นไปยังชั้นโทรโปสเฟียร์ และชั้นสตาร์โทสเฟียร์ ซึ่งในบรรยากาศชั้นนี้จะมีแก๊สโอโซน (O3) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตบี (UVB)ที่แผ่กระจายมายังโลกไม่ให้มีปริมาณมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ โดยปกติถ้าผิวหนังมนุษย์ได้รับรังสี UVB มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ เมื่อสารจำพวก CFCs ปะปนอยู่ในชั้นสตาร์โทสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลตจะกระตุ้นให้อะตอมคลอรีนแตกตัวออกมาจากสาร CFCs ซึ่งอะตอมคลอรีนนี้จะจับตัวกับออกซิเจนอะตอมในโอโซนทำให้โอโซนถูกทำลายลง
(รุปภาพ การเกิดรูรั่วของชั้นโอโซน)
เนื่องจากแก๊สโอโซนเป็นตัวกรองรังสี UVB ซึ่งเป็นรังสีที่อันตรายต่อผิวมนุษย์ ยิ่งแก๊สโอโซนถูกทำลายมากเท่าไร ก็แสดงว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกจะได้รับความเสี่ยงจากอันตรายของรังสี UVB มากขึ้น ดังนั้นปัญหาการเกิดรูรั่วของชั้นโอโซนนี้ จำเป็นจะต้องมีการป้องกันโดยการลดการใช้สาร CFCs
(รูปภาพ รูรั่วของชั้นโอโซนในบรรยากาศชั้นสตาร์โทสเฟียร์)
ฝนกรด (Acid Rain) คือ ฝนหรือหิมะที่ตกลงมาโดยมีสภาพเป็นกรดจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารนี้เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินที่มีส่วนประกอบของกำมะถัน (ซัลเฟอร์) จากโรงไฟฟ้าและสารไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิงในรถยนต์ เมื่อซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนดตรเจนออกไซด์ลอยขึ้นสู่อากาศก็จะรวมตัวกับไอน้ำกลายเป็นกรดซัลฟูริก และกรดไนตริก ตกลงมาเป็นฝนที่มีสภาพเป็นกรด เป็นอันตรายต่อโลหะสิ่งก่อสร้าง พืช และมนุษย์
สภาวะโลกร้อน (Global warming) เป็นสภาวะที่มีแก๊สบางชนิดสะสมอยู่ในบรรยากาศโลกเป็นจำนวนมาก ทำให้รังสีความร้อนที่แผ่จากโลกไม่สามารถกระจายออกไปนอกบรรยากาศได้ทำให้สภาพภูมิอากาศโดยรวมของโลกมีความร้อนสะสมอยู่มาก เป็นผลให้อุณหภูมิของอากาศในโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ปรากฏการณ์นี้มีลักษณะเช่นเดียวกับการรักษาความร้อนภายในเรือนจำเพาะชำกระจก(Greenhouse) ทางการเกษตร เรื่องสภาวะโลกร้อนจะกล่าวถึงรายละเอียดในหน่วยที่ 6 ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น