ความเป็นมาของการใช้พลังงานในประเทศไทย

ความเป็นมาของการใช้พลังงานในประเทศไทย
        การใช้พลังงานในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนใหญ่เป็นการใช้ความร้อน และแสงสว่างในเวลากลางคืน มีส่วนน้อยที่ใช้ผลิตในงานหัตถกรรม เช่น ทำเครื่องถ้วยชามสังคโลก หรือหล่อพระพุทธรูป ทำอาวุธ และก่อสร้าง เชื้อเพลิงที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ฟืน ถ่าน และแกลบ สำหรับเชื้อเพลิงที่งานให้แสงสว่างมักใช้น้ำมันพืชหรือไขสัตว์
        การใช้พลังงานในยุคใหม่ของไทย เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเริ่มมีดรงสีไฟที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ แต่ก็ยังใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยเริ่มมีพัฒนาตามแบบยุโรป มีการจัดสร้างสาธารณูปโภคใหม่ๆ ขึ้น เช่น รถไฟ และเรือกำปั่น แต่ก็ยังใช้พลังงานประเภทฟืนและแกลบอยู่ จนมีการสั่งซื้อยานพาหนะประเภทรถยนต์เข้ามา จึงต้องนำเข้าน้ำมันเบนซินเพื่อใช้กับรถ รวมทั้งนำเข้าน้ำมันก๊าด เพื่อใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่างตามถนนหนทาง และบ้านเรือน

(รุปภาพ รถไฟสมัยรัชกาลที่ 5 )

        กิจการไฟฟ้าในประเทศไทยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2427 สมัยรัชกาลที่ 5 โดยจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งจมื่นไวยวรนารถ ได้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์โคมไฟฟ้าจากสหราชอาณาจักรมาติดตั้งที่กรมทหารม้าหน้ากระทรวงกลาโหมปัจจุบัน และจ่ายไฟฟ้าเพื่อใช้ในพระบรมมหาราชวังเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 นับได้ว่าประเทศไทยนำไฟฟ้ามาใช้ก่อนประเทศใดในทวีปเอเชีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 รัฐบาลไทยในสมัยนั้นเห็นความสำคัญของการใช้ไฟฟ้า จึงได้ทำสัญญาผลิตและส่งกระแสไฟฟ้าไปใช้ในส่วนราชการ และถนนหลวง

(รูปภาพ จมื่นไวยวรนารถ หรือ เจิม แสงชูโต)

        การผลืตกระแสไฟฟ้าได้ดำเนินการโดยหลายบริษัท จนกระทั่งการไฟฟ้านครหลวงได้สร้างโรงไฟฟ้าขึ้นที่วัดเลียบ เป็นดรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่มีกำลังผลิต 1,250-6,000 กิโลวัตต์ รัฐบาลไทยได้เข้าไปมีหน้าที่ควบคุม และผลิตโดยตรงตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ใน พ.ศ. 2455 ได้สร้างโรงไฟฟ้าที่แห่งหนึ่งที่สามเสน เพื่อนำไฟฟ้าไปใช้ในการผลิตน้ำประปา และจ่ายกระแสไฟฟ้าบางส่วนให้ประชาชนด้วย สำหรับต่างจังหวัด ที่จังหวัดราชบุรีมีไฟฟ้าใช้ พ.ศ. 2460 และจังหวัดเชียงใหม่มีไฟฟ้าใช้เมื่อ พ.ศ. 2474

(รูปภาพ โรงไฟฟ้าวัดเลียบในยุคต้น)

        หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง พลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าหายาก และมีราคาสูง และโรงไฟฟ้าที่มีอยุ่เสียหายจากการระเบิด รัฐบาลไทยจึงศึกษาหาวิธีผลิตกระแสไฟฟ้าโดยพลังงานอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2500 โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ได้สร้างขึ้นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแก่จังหวัดในภาคเหนือ และภาคกลาง รวม 36 จังหวัด ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ต่อมาการผลิตกระแสไฟฟ้ได้กระจายไปทั่วอย่างรวดเร็ว และมีการนำพลังงานหลายประเภทมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ พลังน้ำ ถ่านหินลิกไนต์ รวมทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ จากความร้อนใต้พิภพ และจากชีวมวล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าแรก

พลังงานและสิ่งแวดล้อม                        พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ เพราะเราทุกคนต้องพึ่งพาพล...