ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคผลิตไฟฟ้า
พลังงานที่ใช้กันมากในแต่ละประเทศ คือ พลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีกระบวนการผลิตซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่สำคัญๆ ดังนี้
• ถ่านหิน
ถ่านหินที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าอาจก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามประเภทของถ่านหิน ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศไทยมีการนำถ่านหินลิกไนต์ซึ่งมีคุณภาพต่ำมาใช้ ผลกระทบที่เกิดเริ่มตั้งแต่กระบวนการทำเหมืองแร่และแต่งแร่สรุปได้ดังนี้
พลังงานที่ใช้กันมากในแต่ละประเทศ คือ พลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีกระบวนการผลิตซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่สำคัญๆ ดังนี้
• ถ่านหิน
ถ่านหินที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าอาจก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามประเภทของถ่านหิน ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศไทยมีการนำถ่านหินลิกไนต์ซึ่งมีคุณภาพต่ำมาใช้ ผลกระทบที่เกิดเริ่มตั้งแต่กระบวนการทำเหมืองแร่และแต่งแร่สรุปได้ดังนี้
(รุปภาพ เหมืองถ่านหินอาจส่งผลกระทบด้านมลพิษทางเสียง และทางอากาศ)
ผลกระทบจากกระบวนการผลิต ถ่านหินเป็นสินแร่ที่อยู่ใต้พื้นโลก เกิดจากการทับถมของซากพืช และซากสัตว์ที่ตายสะสมกันมานับล้านปี ดังนั้นการนำถ่านหินมาใช้จึงต้องมีการขุดเจาะพื้นผิวดินเพื่อเปิดหน้าดิน เป็นการทำลายทรัพยากรอื่นๆ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ดิน เป็นต้น
ผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ การนำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดปัญหาแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แก๊สนี้เมื่ออยู่ในบรรยากาศจะรวมตัวกับไอน้ำ และน้ำฝน กลายเป็นฝนกรด เป็นอันตรายต่อสิ่งก่อสร้าง พื้นดิน แหล่งน้ำ และประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น
• น้ำมันดิบ
การใช้พลังงานของโลก จะใช้น้ำมันซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีปริมาณมากเป็นอันดับ 2 รองจากถ่านหิน แหล่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่จะอยู่ในตะวันออกกลาง สำหรับประเทศไทยแหล่งน้ำมันดิบน้อย โดยที่แหล่งสิริกิติ์ผลิตได้เพียงร้อยละ 3 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ น้ำมันดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศนำเข้ามาจากต่างประเทศทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
ผลกระทบจากการผลิต การขุดเจาะบ่อน้ำมันก่อให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับการขุดถ่านหินแต่ใช้พื้นที่น้อยกว่า การขนถ่ายน้ำมันบริเวณแท่นขุดเจาะทั้งบนบก และทางทะเลอาจมีปัญหาการรั่วไหล หรือการฟุ้งกระจายของละอองหยดน้ำมัน และการนำน้ำมันดิบมาแปรรูปเป็นน้ำมันสำเร็จรูปในโรงกลั่นน้ำมันก็อาจก่อให้เกิดปัญหาคล้ายกับถ่านหิน กล่าวคือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงจะทำให้เกิดเขม่าควัน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์
แก๊สธรรมชาติ
แก๊สธรรมชาติเป็นแหล่งพลังงานที่มีการขุดเจาะมาใช้ประโยชน์มากกว่า 10 ปีแล้ว แหล่งใหญ่อยุ่ในอ่าวไทย แต่ปริมาณที่มีในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ จึงต้องมีการซื้อจากพม่า มาเลเซีย และอินดดนีเซียในระยะต่อไป
ผลกระทบจากการผลิต แท่นขุดเจาะน้ำมันส่วนใหญ่อยู่กลางทะเล ปัญหาที่ต้องระวัง คือการเดินเรือหรือการทำประมง เพราะระยะรัศมี 500 เมตรรอบแท่นเจาะจะมีแก๊สฟุ้งกระจายสามารถติดไฟได้ นอกจากนี้การทำประมงทิ้งสมอลากอวนผ่านแนวท่อแก๊สอาจทำให้ท่อรั่วหรือขาดจากกันได้ จะทำให้แก๊สรั่วออก และขยายตัวเป็นไอพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็ว ฟองแก๊สสามารถทำให้เรือประมงพลิดคว่ำได้ และหากมีประกายไฟจะเกิดอันตรายจากไฟไหม้ได้
ผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ การเผาไหม้แก๊สธรรมชาติจะมีมลพิษน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับถ่านหิน และน้ำมัน บางครั้งเรียกว่า พลังงานสะอาด (Clean Energy)
• ไฟฟ้าพลังน้ำ
การผลิตไฟฟ้าดดยใช้พลังงานน้ำจากน้ำที่เก็บกักอยู่ในอ่างน้ำหรือเขื่อน อาศัยการปล่อยให้น้ำไหลออกผ่านกังหัน (Turbine) เพื่อให้ไปขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Ceneration) ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าจากน้ำ จึงจำเป็นต้องมีการสร้างเขื่อนสำหรับกักน้ำ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
ผลกระทบจากการผลิต จากความต้องการใช้พื้นที่กักเก็บน้ำเป็นจำนวนมากอาจทำให้ต้องเสียพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมาก หรือต้องมีการย้ายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของชาวบ้านบริเวณดังกล่าว รวมทั้งเกิดผลกระทบต่อป่าไม้หรือสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น
• นิวเคลียร์
พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่มีศักยภาพในการใช้เป็นพลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ได้มาจากปฏิกิริยาแตกตัว (Nuclear Fission) ซี่งจะมีกากของเสียเป็นสารกัมมันตรังภาพรังสีที่กำลังสลายตัวหรือจัดเรียงตัวใหม่ และมีการปลดปล่อยรังสีประเภทต่างๆ ออกมาทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานนิวเคลียร์จึงแพร่หลายเฉพาะในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งมีขีดความสามารถในการจัดการกับปัญหาและความเสี่ยง
(รูปภาพ การนำสารกัมมันตรังสีมาใช้ทางการแพทย์ )
สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน มีการนำสารกัมมันตรังสีมาใช้ในด้านการแพทย์ (การผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ) การเกษตร (การถนอมอาหาร) และด้านอุตสาหกรรม (การตรวจสอบการเชื่อมโลหะ) ผลกระทบของสารกัมมันตรังภาพรังสี การทำปฏิกิริยานิวเคลียร์จะมีการปล่ดปล่อยรังสีประเภทต่างๆ ออกมา ประกอบด้วย รังสีแกมมาที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงสุดต้องใช้คอนกรีตหนาๆ กั้นขวางจึงจะหยุดรังสีนี้ได้ ส่วนรังสีเบตา และรังสีแอลฟามีอำนาจในการทะลุทะลวงต่ำมากอาจใช้แผ่นไม้ และแผ่นกระดาษกั้นไม่ให้ผ่านได้ รังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำ ได้แก่ เบตา และแอลฟา จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากกว่าเนื่องจากรังสีทั้งสองจะถูกกั้นหรือหยุดยั้งด้วยเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกาย ทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงาน และการแยกตัวเป็นอันตรายได้ ส่วนรังสีแกมมามีอำนาจทะลุทะลวงสูงจะผ่านร่างกายไปได้ และปล่อยพลังงานในเนื้อเยื่อน้อยกว่า
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานนิวเคลียร์ อาจทำให้สารกัมมันตรังสีเล็ดลอดออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยติดออกมากับอากาศเสีย และน้ำทิ้งจากการทำงานของระบบ
ผลกระทบจากกากของเสีย กากแร่กัมมันตรังสี หลังการใช้งานแล้วจะต้องมีวิธีการกักเก็บไว้จนกว่าปริมาณรังสีจะมีค่าลดลงในระดับที่ไม่เป็นอันตราย แล้วจึงนำไปกำจัดด้วยวิธีปกติ
(รูปภาพ ภาพแสดงการเก็บกากกัมมันตรังสี)
ผลกระทบจากการรั่วไหลของรังสีระหว่างดำเนินการ โดยปกติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีระบบป้องกันอันตรายโดยการตรวจวัดปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อมรอบๆ โรงงานเป็นประจำแต่ก็อาจเกิดปัญหาได้ถ้าไม่ระมัดระวัง เช่น การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมืองเชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2528
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น