รูปแบบของพลังงาน

รูปแบบของพลังงาน

      พลังงานมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีรายละเอียด และความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังนี้

1.   พลังงานศักย์ หมายถึง พลังงานที่เก็บ หรือแฝงอยู่ในวัตถุนั้น เช่น ก้อนหินมีพลังงานศักย์ จึงทำให้โมเลกุลของมันเกาะรวมกันอยู่เป็นก้อน แบตเตอรี่รถยนต์ หรือถ่านไฟฉายก็มีพลังงานศักย์อยู่เช่นกัน พลังงานศักย์สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้

2.   พลังงานจลน์ หมายถึง พลังงานที่มีในวัตถุ เนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยความเร็ว เช่น ก้อนกินตกลงสู่พื้นได้เพราะมีพลังงานจลน์เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของก้อนหินนั้นปริมาณพลังงานจลน์ขึ้นอยู่กับมวลสารและความเร็ว เช่น กระสุนปืนที่ยิงออกไปย่อมมีพลังงานมากกว่ากระสุนปืนที่ถูกขว้างออกไปด้วยมือ หรือก้อนหินที่มีขนาดใหญ่ย่อมทำลายวัตถุอื่นได้มากกว่าก้อนหินที่มีขนาดเล็กเมื่อถูกขว้างออกไปด้วยความเร็วเท่ากัน

3. พลังงานภายใน หมายถึง พลังงานที่มีอยู่ในวัตถุหรือระบบจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อวัตถุหรือระบบมีการเปลี่ยนสภาพ หรือมีการแปรรูปซึ่งจะทำให้มีการถ่ายเทพลังงานระหว่างวัตถุหรือระบบเกิดพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นดังนี้

        3.1   พลังงานกล เป็นพลังงานที่นำมาใช้ประโยชน์โดยผ่านกลไก หรืออุปกรณ์ต่างๆ งานที่ได้จากอุปกรณ์จัดเป็นงานที่ได้จากการเคลื่อนที่โดยอาจเริ่มจากพลังงานศักย์ที่สะสมในวัตถุ และเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์เมื่อมีการเคลื่อนที่ และเมื่อมีการนำพลังงานที่ได้จากวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มาใช้งานโดยผ่านอุปกรณ์แปลงพลังงานงานที่ได้จากอุปกรณ์นั้นเป็นงานกล เช่น น้ำหลังเขื่อนมีพลังงานศักย์สะสมอยู่ภายใน เมื่อปล่อยให้น้ำไหล จะมีการเปลี่ยนพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์เมื่อนำน้ำที่ไหลไปผ่านกังหันทำให้เพลาในกังหันหมุน สามารถนำไปขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ งานที่ได้จากเพลา คือ งานกล

        3.2   พลังงานความร้อน เมื่อวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จะมีการถ่ายเทความร้อน ซึ่งเป็นพลังงานที่สัมผัสได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ความร้อนจากเชื่อเพลิงความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของวัตถุ เป็นต้น ในการเปลี่ยนรูปของพลังงาน มักเกิดการสูญเสียในรูปของพลังงานความร้อน เช่น หลอดไฟที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง จะมีการสูญเสียพลังงานส่วนหนึ่งในรูปของพลังงานความร้อนที่หลอดไฟนั้น

        3.3   พลังงานเคมี เป็นพลังงานที่สะสมในแหล่งพลังงาน เมื่อเกิดการเปลี่ยนรูปหรือปฎิกริยาเคมีจะให้พลังงานความร้อนออกมา แหล่งพลังงานที่มีพลังงานเคมีสะสมอยู่ภายในเป็นเชื้อเพลิงที่ต้องมีการเผาไหม้ จึงได้พลังงานความร้อนออกมา เช่น ถ่านหิน น้ำมันเตา น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ การบริโภคอาหารของมนุษย์ทำให้เกิดพลังงานเคมีในเซลล์ของร่างกายทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และมนุษย์ดำรงชิวิตอยู่ได้

4.   พลังงานไฟฟ้า แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
        4.1   ไฟฟ้าสถิต เกิดจากการที่อะตอมซึ่งเป็นองค์ประกอบของวัตถุทุกชนิดเกิดการสูญเสียหรือได้รับอิเล็กตรอน ทำให้มีจำนวนไม่เท่ากับโปรตอน
        4.2   ไฟฟ้ากระแส เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ในชีวิตประจำวันเราใช้ประโยชน์จากไฟฟ้ากระแสเป็นส่วนใหญ่ เช่น หลอดไฟ พัดลม ตู้เย็น เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าแรก

พลังงานและสิ่งแวดล้อม                        พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ เพราะเราทุกคนต้องพึ่งพาพล...